เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะผู้ยึดอำนาจปกครอง
ที่ใช้นามแฝงว่า คสช. ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการทหารบก ผู้เป็นเลขาธิการคณะยึดอำนาจดังกล่าว
ออกมาแถลง ‘เร่ง’ ทำความเข้าใจเรื่องที่ทางการอียู
หรือประชาคมร่วมยุโรป ได้แสดงความเป็นห่วงและทักท้วงมาอีกครั้ง ต่อกรณีที่คณะยึดอำนาจกระทำการจับกุมบุคคลไปควบคุมตัวไว้ก่อนแล้วค่อยตั้งข้อหา
กับการนำพลเรือนไปขึ้นศาลทหาร
คำชี้แจงไม่มีอะไรใหม่ หรือมีคุณค่าสลักสำคัญต่อกรณีที่อียูทักท้วงมา
เนื่องเพราะยังคงใช้ข้ออ้างเดิมๆ ที่มีลักษณะเป็นวาทกรรมซ้ำซาก หรือ rhetoric ว่า “สถานการณ์ในไทยที่มีความแตกต่างจากประเทศอื่นๆ บริบทของการแก้ไขปัญหาก็ย่อมต้องมีความแตกต่างกัน”
แม้กระทั่งในส่วนของข้อมูลเพิ่มเติมอีก ๔ ข้อ
(ตามที่ปรากฏในรายงานข่าวของ http://news.voicetv.co.th/thailand/167274.html ) ก็ยังคงลักษณะในการใช้โวหารแก้ต่างไปพลางๆ
ยิ่งเสียกว่ามุ่งหมายตอบข้อข้องใจอันใด ดังจะได้แจกแจงในรายละเอียดต่อไป
ก่อนอื่นเราย้อนไปดูเนื้อหาการทักท้วงของประชาคมยุโรปกันหน่อย
ตามรายงานข่าวเอพีตีพิมพ์ที่ http://www.salon.com/2015/02/13/eu_criticizes_detention_policy_military_courts_in_thailand/ นั้น ทางการอียูแถลงย้ำความเห็นขององค์การ Human Rights
Watch ซึ่ง คสช. ทำการปิดกั้น (blocked)
ไม่ยอมให้รับฟังความเห็นมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว นับแต่องค์การดังกล่าวติติงการทำรัฐประหารของคณะทหารไทย
และชี้ให้เห็นการปฏิบัติที่ขัดต่อหลักการสากลว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตยหลายครั้ง
ข้อเรียกร้องจากฮิวแมนไร้ส์ว้อทช์ เป็นเรื่องการที่เจ้าหน้าที่ทหารทำการควบคุมตัวประชาชนพลเรือนไว้เป็นเวลาเกือบสามเดือน
(๘๔ วัน) โดยยังไม่ต้องตั้งข้อหา ฟ้องร้อง ดำเนินคดี ในกระบวนการยุติธรรมสากลปกติ
องค์การสิทธิมนุษยชนนานาชาติซึ่งมีสำนักงานกลางอยู่ในกรุงนิวยอร์คแห่งนี้คัดค้านต่อการที่
คสช. จะนำวิธีการของกฏอัยการศึกดังกล่าวมาบังคับใช้อย่างถาวร
พร้อมทั้งชี้ว่าเป็นการขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิพลเรือนส่วนบุคคลและการเมือง ที่ประเทศไทยร่วมเป็นภาคี
นายแบรด แอดัมส์
ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเซียของฮิวแมนไร้ส์ว้อทช์ระบุว่า การนำเอาวิธีการควบคุมตัว ๘๔
วันก่อนตั้งข้อหามาใช้ เท่ากับเป็นการตระบัดสัตย์อีกครั้ง ไม่ยอมรักษาคำมั่นสัญญา (broken promise)
ที่จะนำประเทศกลับคืนสู่การปกครองโดยเคารพสิทธิและประชาธิปไตย
คำอ้างที่ พ.อ.วินธัย แถลงเพิ่มเติมในข้อแรกเลยทีเดียวว่า “การควบคุมตัวเป็นการดำเนินการตามกระบวนยุติธรรมปกติต่อผู้ที่สงสัยว่าจะกระทำความผิด”
นี่ก็ ‘คลาดเคลื่อน’ ไปมากจากหลักการสากลอันควรเป็น
(ส่วนที่จะมีเจตนา ‘บิดเบือน’
แอบแฝงหรือไม่ คงต้องพิสูจน์กันต่อไป
เมื่อบ้านเมืองหลุดพ้นจากครอบงำของเผด็จการแล้ว)
โดยหลักการสากลเรื่องสถานะของ “ผู้ต้องหาหรือผู้ต้องสงสัย ถือว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะสามารถพิสูจน์ความผิดชัดแจ้งแล้ว”
การปฏิบัติต่อผู้บริสุทธิ์ย่อมไม่ใช่เรียกผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารไปคุยเพื่อปรับทัศนคติ
การเปลี่ยนไปใช้คำ 'แลกเปลี่ยนมุมแนวคิด' แทน ไม่ได้ช่วยปรับเจตนาให้หลุดพ้นไปจากการก้าวร้าวได้ หากจะยืนยันว่านั่นเป็นไปตามที่กรอบกฏหมายกำหนด ก็โปรดเข้าใจไว้เสียด้วยว่ากฏหมายของท่านผิดฝาผิดไข้ไปแล้ว
การเปลี่ยนไปใช้คำ 'แลกเปลี่ยนมุมแนวคิด' แทน ไม่ได้ช่วยปรับเจตนาให้หลุดพ้นไปจากการก้าวร้าวได้ หากจะยืนยันว่านั่นเป็นไปตามที่กรอบกฏหมายกำหนด ก็โปรดเข้าใจไว้เสียด้วยว่ากฏหมายของท่านผิดฝาผิดไข้ไปแล้ว
ข้อสองที่ว่า “คดีขึ้นศาลทหารปัจจุบันมีอยู่สองสามฐานความผิดเท่านั้น
อันเป็นลักษณะเกี่ยวกับความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย”
อันนี้ชัดมากเมื่อทั่วโลกเขาเห็นว่า ความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยที่อ้าง
มันเป็นของ ‘ท่าน’ และ ‘พวกท่าน’ เท่านั้น ไม่ใช่ของพลเมืองทั้งมวล
ดังนั้นการใช้วลี “ซึ่งมั่นใจสังคมส่วนใหญ่ยอมรับและเข้าใจ” ก็เป็นเพียงมโนจริต หรือวาทกรรมซ้ำซาก
ที่ควรกลับไปอ่านคำตอบสำหรับข้อแรก จะได้กระจ่างขึ้นมาอีกนิด
ข้อสามนั่นอ้างถึง ‘ทางพฤตินัย’ นี่ก็ผิดถนัด
น่าจะ ‘พจนัย’ คงพอฟังได้ เรื่องว่า “ยังคงยึดโยงให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ฟังเสียงความต้องการประชาชนผ่านศูนย์ดำรงธรรม ผ่านศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ผ่านเวทีรับฟังความเห็นของในหลายๆ
องค์กร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมกับภาครัฐได้อย่างกว้างขวาง” ซึ่งก็เชื่อไม่ได้ว่าเป็นจริง
เพราะการร้องเรียนผ่านศูนย์ต่างๆ ดังว่า เห็นมีแต่พวกแฟนคลับนกหวีดปิดกรุงเทพฯ
เท่านั้นที่ไปร้องกันประปราย แล้วดูจะเป็นแค่พวกอกหักกับ ‘ไทยออยส์’ ที่ท่านผู้นำคณะยึดอำนาจปกครองเป็นประธานกรรมการอยู่ด้วยน่ะ ฉะนั้น คำว่า ‘อย่างกว้างขวาง’
จึงมุสาหน้าใส
ส่วนข้อสี่นี่คล้าสสิกมากทีเดียว ว่ายังต้องใช้กฏอัยการศึก ‘ด้วยสถานการณ์ยังคงละเอียดอ่อน' ท่านบอกว่า “ก็เพียงเท่าที่จำเป็น
หลักๆ มีเพียง 2 ข้อคือ ขอให้งดเว้นการชุมนุมทางการเมือง กับช่วยให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงตัวผู้ต้องสงสัยกระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น”
โดยเฉพาะข้อหลังนั้น ถ้าอ่านเจตนาเบื้องลึกแบบที่ ตลก. ศาลรัฐธรรมนูญชอบทำ
จะได้ความว่า ‘เพื่อพวกท่าน’ จะได้กุมอำนาจต่อไปได้โดยสะดวกแค่นั้นแหละ
ไม่ใช่ใดอื่น
แต่หากอ่านจากเนื้อถ้อย อีกทั้งตีความอย่างผู้ที่เจริญแล้วด้วยจิตสำนึกแห่งประชาธิปไตย
และความเท่าเทียมกันของมนุษย์ละก็ คงบอกว่าเป็น Stalin-esque tactics และ Orwellian dystopias อย่างที่ Elizabeth Na ’Ai เขียนวิจารณ์ไว้ในบทความเรื่อง
'THAILAND
: Orwellian Dystopia at Its Finest' ที่ตีพิมพ์บนวารสาร Asia
Media ของมหาวิทยาลัย Marymount ในลอส
แองเจลีส
ข้อเขียนฟันธงว่า
“มาตรการของ คสช. ที่ว่ามุ่งสร้างสันติและลด ‘ความเกลียดชัง’ หรืออาจจะอธิบายให้ใกล้เคียงยิ่งกว่าได้ว่า
คือการกำจัดกลุ่มการเมือง และผู้เห็นต่าง ออกไปจากการเจรจาต่อรอง”
ผู้เขียนกล่าวถึงการที่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขอให้ประชาชนคอยสอดส่องกันและกัน ว่าใครมีพฤติกรรมน่าสงสัยก็ให้รายงานต่อเจ้าหน้าที่
บวกกับการเตรียมออก พ.ร.บ. สื่อไซเบอร์และเศรษฐกิจดิจิทอล “ถ้าผ่านออกมาบังคับใช้ละก็
-แล้วใครล่ะจะค้าน- คณะผู้ยึดครองมีอำนาจเต็มในการเข้าไปค้น อายัติ เข้าถึง
และตัดตอนช่วงชิงการสื่อสารใดๆ ทางระบบดิจิทอล
โดยไม่ต้องอิงหลักฐานหรือการวินิจฉัยจากผู้มีอำนาจตุลาการที่น่าเชื่อถือ
(เท่ากับว่า)
คณะผู้ยึดอำนาจได้จัดตั้งรัฐสอดแนม (สไตล์ ‘1984’) ขึ้นมาอย่างชั่วร้าย ชนิดทำให้ ‘ออร์เวลล์’ (ผู้เขียน‘1984’) เอง ยังต้องอาย”
ผู้เขียนยังพาดพิงถึงการตั้งข้อหาความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา
มาตรา ๑๑๒ ที่มีเพิ่มขึ้นฮวบฮาบนับแต่การยึดอำนาจเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ๒๕๕๗
กับการเรียกนักการเมืองพรรคเพื่อไทยไปปรับทัศนคติ การข่มขู่สื่อมวลชน ‘ห้ามถามเซ้าซี้’ ล้วนเป็นองค์ประกอบทำให้ประเทศตกอยู่ในสภาพ
Orwellian Dystopia หรือ ‘ขุมนรกออร์เวลล์’
ทั้งสิ้น
“เห็นได้แจ้งชัดว่า
ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะ จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยอีกมากมายนัก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับคำจำกัดความของมัน)
ถ้าคนไทยมุ่งหมายที่จะมีส่วนมีเสียงในการกำหนดทิศทางก้าวไปข้างหน้าของประเทศละก็
ควรจะร่วมกันทัดทานเผด็จการทหารชุดนี้ออกมาให้เห็น ในสิ่งที่เป็นเสรีภาพการแสดงออก
และสิทธิส่วนบุคคล” บทความเน้นในตอนท้าย
No comments:
Post a Comment